7/31/2555

SEO (Search Engine Optimization)


                      SEO คืออะไร SEO (เอสอีโอ) มาจากคำเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายแบบบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น)

                       ขั้นตอนการทำ SEO ขั้นที่ 1 วิเคราะห์คู่แข่งและเลือกคีย์เวิร์ด ก่อนที่จะลงในเนื้อหา ขั้นตอนนี้ ผมจะพูดถึงเรื่อง SEO (Search Engine Optimization) กันก่อนนะครับ เผื่อมีบางคนหลงทางมาเจอ จะได้รู้ว่า SEO มันคืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องทำ SEO ทำไมมีคนกล่าวถึงกันมากเหลือเกิน (ในกลุ่มเว็บมาสเตอร์และคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ) ก่อนอื่น ผมขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นเทพจุติจากที่ไหน แต่อาศัยว่ามีประสบการณ์ในการทำ SEO มาพอสมควร นอกจากนี้ ก็ยังได้ถ่ายทอดให้น้องๆ อีกหลายคนทำตาม และก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคนอีกหล่ะครับ SEO มันไม่ได้เป็นกฏตายตัว (เราไม่ใช่กูเกิ้ล เอ็มเอสเอ็น หรือ ยาฮูนี่ครับ) มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครขยันหาข้อมูล รู้จักสังเกต นำมาปรับแต่งก็ได้เปรียบหล่ะครับ

                          SEO สำคัญยังไง อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ดังนั้น ผมสรุป 

ความสำคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
  • ทำให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆ ในการแสดงผลงการค้นหา
  • การเขียน Title ที่ดี Keyword In trend ช่วยทำให้สะดุดตา แม้อันดับต่ำกว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิกมากกว่า
  • ทำให้เว็บเราถูกหลักของ W3C ซึ่งเป็นมาตรฐานของภาษาที่ใช้เขียนเว็บ ทำให้ดูสละสลวยเมื่อ Search Engine มาเจอก็เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
  • เมื่อติดอันดับต้นๆ ทำให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีทราฟิก
  • ติด Adsense ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูงด้วย เพราะมีทราฟิกก็มีโอกาส
  • อื่นๆอ่า ยังไม่ได้เริ่ม ขั้นตอนเลย รอก่อนนะครับ รับรองว่า ได้ความรู้ไปใช้งานแน่ๆ

7/30/2555

Social Bookmark


Social Bookmark คืออะไร ?

บางคนคงจะเคยได้ยินคำ ๆ นี้มาบ้าง หรือ บางคนอาจจะเคยรู้จักกับคำว่า Bookmark ซึ่งถูกใช้บ่อย ๆ เมื่อเจอเว็บที่ชอบแล้วต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เพื่อที่ในวันหลังจะได้เข้าเว็บไซต์นี้ได้อีก ซึ่งเราเรียกการเก็บ URL เว็บไซต์แบบนี้ว่าการทำ Bookmark หรือ Add Favorite ซึ่งเมื่อเรา Bookmark หรือ Add Favorite ไว้แล้ว เราสามารถเข้าไปเรียก URL ต่าง ๆ 
ได้ จากการคลิกดูใน Favorities บรืเวณ Menu Bar

         แต่การ Bookmark หรือ Add Favorite นั้น เราจะเปิดดูข้อมูลที่เราเก็บไว้ขึ้นมาดูได้ ก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องเดิมเท่านั้น หากเราไปใช้งานเครื่องอื่น ๆ เช่นที่ร้านอินเตอร์เน็ต ที่มหาวิทยาลัย หรือที่โรงเรียน ก็จะไม่มีข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งก็มีบริการอีกแบบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเรา เรียกว่าเว็บ Social Bookmark โดยเมื่อเราสมัครสมาชิกกับเว็บ Social Bookmark แล้ว เราจะได้ Username และ Password สำหรับ
เข้าใช้งานระบบขอเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูล URL ที่เราสนใจไปเก็บไว้ในระบบของเว็บ Social Bookmark ได้ ซึ่งไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนบนโลก หากมีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าระบบของเว็บ Social Bookmark เพื่อเข้าไปดูข้อมูล URL ที่เก็บไว้ได้    
      
             นอกจากนี้แล้ว เว็บ Social Bookmark ยังมีระบบจัดการ ซึ่งนอกจากเราเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลแล้ว เรายังสามารถกำหนดสิทธ์การใช้งาน ข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้อีกด้วย อย่างเช่น เราอยากได้ความเป็นส่วนตัว ก็สามารถกำหนดได้ว่า ต้องล็อกอินเท่านั้นถึงจะเห็นข้อมูล หรือเราเห็นว่าเป็นเว็บที่มีประโยชน์ อยากแบ่งปันให้คนอื่น ๆ ได้รู้จักด้วย เราก็สามารถกำหนดให้บุคคลทั่วไป หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่ใช้เว็บ Social Bookmark ได้เห็นข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้ด้วย


              ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ทำให้การ Bookmark ผ่านเว็บกลายเป็นเสมือนสังคมสังคมหนึ่ง ที่มีการติดต่อ แบ่งปัน นอกจากนี้ก็อาจมีการแสดงความคิดเห็น การโหวตคะแนนให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ที่เราชอบ หรือได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เค้าได้เก็บไว้ ซึ่งเป็นที่มาของ
คำว่า Social Bookmark    
      
     



     สำหรับเว็บ Social Bookmark นั้นมีในสังคมอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยมานานหลายปีแล้ว แต่กลับได้รับความนิยมอยู่เพียงช่วงหนึ่ง แต่แล้วก็เหมือนเงียบหายไป เพราะความนิยมลดลงจนทำให้เว็บ Social Bookmark หลาย ๆ แห่งปิดตัวลง (เชื่อว่าเพื่อน ๆ บางท่านคงเคยได้มีโอกาสใช้เว็บไซต์ประเภทนี้)
              
จนกระทั้งเมื่อมีผู้ใช้นำเว็บ Social Bookmark มาใช้ในการทำ SEO เพื่อโปรโมทเว็บไซต์แบบ Off Page จึงทำให้เว็บ Social Bookmark เกิดใหม่อีกครั้ง และได้รับความนิยมอย่างสูงในการใช้โปรโมทเว็บไซต์ และหลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่า เว็บประเภท Social Bookmark กลายเป็นช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ ของ Webmaster หรือ Promoter จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่งแค่อย่างเดียว (จุดประสงค์การใช้งานเปลี่ยนไป บุคคลที่ใช้งานคือคนที่ต้องการเผยแพร่เว็บไซต์)    
      
               ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้สร้างเว็บ Social Bookmark ขึ้นมามากมาย ทั้งนี้เพราะคนสร้างเว็บเหล่านี้ ต้องการสร้างเว็บที่ใช้สำหรับสร้าง Back Link ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้ใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Bookmark ในปัจจุบัน ก็จะมีแค่ 2 ประภท คือ

1. Webmaster หรือเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการโปรโมทเว็บ เพื่อทำ Back Link จากเว็บไซต์ Social Bookmark
2. ผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป ที่ทำการ Search ข้อมูลจาก Search Engine ต่าง ๆ และคลิกข้อมูลเข้ามายังเว็บไซต์ Social Bookmark ซึ่งปรากฏข้อมูลของผู้ใช้ในข้อ 1

            สำหรับข้อดีของการโปรโมทผ่าน Social Bookmark นั้น เนื่องจากเว็บประเภท Social Bookmark นั้นตัวเว็บจะถูกปรับแต่งให้ถูกหลัก SEO อยู่แล้ว และประการที่สองคือ ตัวเว็บมีการอัพเดตข้อมูลถี่มาก ๆ (เพราะมีคนในกลุ่มที่ 1 ที่ตั้งใจเข้าเว็บมาเป็นประจำ และมีประเภทที่ 2 ก็เข้ามาในปริมาณที่มาก) และเมื่อมีปริมาณคนเข้าเว็บมาก ทั้งจากเข้าโดยตั้งใจแบบพิมพ์เข้ามาตรง ๆ และการเข้ามาผ่าน
Search Engine จากทั้งสองประการทำให้เว็บมี Bot เข้ามาเยี่ยชมเว็บ Social Bookmark บ่อย ๆ ตามไปด้วย และเมื่อมีจำนวนคนใช้งานที่มาก ก็เป็นผลทำให้การจัดอันดับข้อมูลในเว็บ Social Bookmark (เว็บที่คนประเภทที่ 1 โปรโมทไว้) ดีไปด้วย
        
     เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ คนที่ใช้เว็บ Social Bookmark โปรโมทเว็บต่างก็ กำหนดให้บุคคลทั่วไป เห็นข้อมูลทั้งหมด เพราะ Bot ก็จะเห็นข้อมูลด้วย ซึ่งเชื่อว่าแทบจะไม่มีใครกำหนดสิทธ์แบบส่วนตัวอีกแล้ว เพราะงั้น ถ้าไปโปรโมทในเว็บ Social Bookmark ก็จำไว้ว่าต้องเลือกแบบ public เท่านั้น ไม่งั้น ก็โพสต์ฟรี 
ไม่ได้ Back Link แล้วจะเมื่อยมือเปล่า ๆ

ขอบคุณข้อมูลโดย  Thaiadmin.org

7/26/2555

DoFollow & NoFollow


              คำนี้เคยได้ยินกันไหมครับ DoFollow กับ Nofollow ถ้าเป็น Webmaster สมัยนี้ หรือ ผู้ที่ทำ Blog น่าจะพอเข้าใจและได้ยินมาบ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับว่า มันคืออะไร?
DoFollow และ NoFollow เป็น Attribute ในการทำลิงค์  (AnchorTag) ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น ให้ผลที่แตกต่างกันค่อยข้างมาก ผมจะยกตัวอย่าง html ที่ใช้ attribute Nofollow ครับ เพราะโดย Default ของ Anchor Tag จะเป็น DoFollow อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราจะใส่ NoFollow ก็ตามนี้เลยครับ


<a href=”http://www.mysite.com” rel=”nofollow“>

คำถามต่อมาคือ จะใส่ทำไม?

                เท่าที่ผมได้หาที่มาที่ไป ก็พบว่า เกิดมาจาก Blog ครับ อันเนื่องมาจาก Blog มีความเป็น Web 2.0 (ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นและใส่ลิงค์ได้) ทำให้มี Spammer, Spammy ชอบมา Comment แล้วใส่ลิงค์กลับไปหาเว็บตนเองแบบน่าเกลียด
                ผู้พัฒนา Blog จึงมองว่า Blog ได้รับผลเสียเพราะมีลิงค์ออกจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใส่เอง จึงได้เพิ่มส่วนของ Attribute “NoFollow” เข้ามาเพื่อ ไม่ให้คะแนน PR” ไปสู่ เว็บดังกล่าวได้
จึงคิดได้ง่าย ๆ ครับว่า การทำ NoFollow เพื่อป้องกันคะแนน PR ในหน้านั้น ๆ ลดลงโดยไม่จำเป็น (เพราะมี Spammer มาป่วน) แต่เดี๋ยวก่อนครับการทำ NoFollow ไม่ได้ทำมาเพื่อป้องกันคะแนน PR เราลดไปให้หน้าเว็บอื่นนะครับ แต่ในทาง SEO เว็บนั้น ๆ จะได้รับ Backlink จาก Blog เราแต่ไม่ให้คะแนน PR ไปด้วย
               เราสามารถทำมาทำกลับ Internal Page ของเว็บเราเองได้เช่นกัน ก็เพื่อป้องกันคะแนนหน้านั้น ไหลไปสู่หน้าอื่น ผมยกตัวอย่างครับ

                หน้าแรกเว็บเรามีลิงค์มากมาย เป็นลิงค์ไปยังหมวดหมู่ เนื้อหาทั่วไป แบบนี้ เราไม่จำเป็นต้องทำ NoFollow เพราะเราให้หน้าเนื้อหา หน้าหมวดหมู่ของเรามีคะแนน PR เพิ่มขึ้นในอนาคต
แต่หน้าที่เกี่ยวกับ Policy, Contact Us หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เรามองว่า เราไม่ต้องการให้มีคะแนน PR เราก็สามารถใส่ NoFollow กับลิงค์นั้นได้ครับ

แล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ?

               แน่นอนครับ ต้องได้สิ หน้า Policy, Contact Us มักจะมีทุกหน้าขอเว็บ (เท่าที่สังเกตุ ทุก Footer จะมี) ดังนั้น ในหน้าแรก ถ้าเรา DoFollow ลิงค์พวกนี้ จากปกติมีลิงค์ 50 ก็จะกลายเป็น 52 ทันที ทำให้คะแนนหน้าแรกของเราโดนแบ่งให้กับ Policy และ Contact Us โดยไม่มีความจำเป็น!!
อันนี้เป็นการนำไปใช้นะครับ เพื่อให้หน้าที่เราต้องการมีคะแนนที่สูงขึ้น แต่การใช้ NoFollow ไม่ควรใช้กับ Link Exchange ครับ เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติกับผู้ที่แลกลิงค์กับเรา ยกเว้นเราแจ้งเค้าก่อนแล้วว่า เราจะให้แบบนี้ ถ้าเค้าโอเค ก็ไม่มีปัญหาครับ

สรุป
DoFollow จะ่ให้ผลทาง Backlink และ คะแนน PR
NoFollow จะให้ผลทาง Backlink แต่ ไม่ให้คะแนน PR
ควรเลือกวิธีการให้ถูกต้องตามความเหมาะสมครับ

ขอบคุณข้อมูลโดย 4compass