7/31/2555

SEO (Search Engine Optimization)


                      SEO คืออะไร SEO (เอสอีโอ) มาจากคำเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายแบบบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น)

                       ขั้นตอนการทำ SEO ขั้นที่ 1 วิเคราะห์คู่แข่งและเลือกคีย์เวิร์ด ก่อนที่จะลงในเนื้อหา ขั้นตอนนี้ ผมจะพูดถึงเรื่อง SEO (Search Engine Optimization) กันก่อนนะครับ เผื่อมีบางคนหลงทางมาเจอ จะได้รู้ว่า SEO มันคืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องทำ SEO ทำไมมีคนกล่าวถึงกันมากเหลือเกิน (ในกลุ่มเว็บมาสเตอร์และคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ) ก่อนอื่น ผมขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นเทพจุติจากที่ไหน แต่อาศัยว่ามีประสบการณ์ในการทำ SEO มาพอสมควร นอกจากนี้ ก็ยังได้ถ่ายทอดให้น้องๆ อีกหลายคนทำตาม และก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคนอีกหล่ะครับ SEO มันไม่ได้เป็นกฏตายตัว (เราไม่ใช่กูเกิ้ล เอ็มเอสเอ็น หรือ ยาฮูนี่ครับ) มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครขยันหาข้อมูล รู้จักสังเกต นำมาปรับแต่งก็ได้เปรียบหล่ะครับ

                          SEO สำคัญยังไง อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ดังนั้น ผมสรุป 

ความสำคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
  • ทำให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆ ในการแสดงผลงการค้นหา
  • การเขียน Title ที่ดี Keyword In trend ช่วยทำให้สะดุดตา แม้อันดับต่ำกว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิกมากกว่า
  • ทำให้เว็บเราถูกหลักของ W3C ซึ่งเป็นมาตรฐานของภาษาที่ใช้เขียนเว็บ ทำให้ดูสละสลวยเมื่อ Search Engine มาเจอก็เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
  • เมื่อติดอันดับต้นๆ ทำให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีทราฟิก
  • ติด Adsense ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูงด้วย เพราะมีทราฟิกก็มีโอกาส
  • อื่นๆอ่า ยังไม่ได้เริ่ม ขั้นตอนเลย รอก่อนนะครับ รับรองว่า ได้ความรู้ไปใช้งานแน่ๆ

7/30/2555

Social Bookmark


Social Bookmark คืออะไร ?

บางคนคงจะเคยได้ยินคำ ๆ นี้มาบ้าง หรือ บางคนอาจจะเคยรู้จักกับคำว่า Bookmark ซึ่งถูกใช้บ่อย ๆ เมื่อเจอเว็บที่ชอบแล้วต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เพื่อที่ในวันหลังจะได้เข้าเว็บไซต์นี้ได้อีก ซึ่งเราเรียกการเก็บ URL เว็บไซต์แบบนี้ว่าการทำ Bookmark หรือ Add Favorite ซึ่งเมื่อเรา Bookmark หรือ Add Favorite ไว้แล้ว เราสามารถเข้าไปเรียก URL ต่าง ๆ 
ได้ จากการคลิกดูใน Favorities บรืเวณ Menu Bar

         แต่การ Bookmark หรือ Add Favorite นั้น เราจะเปิดดูข้อมูลที่เราเก็บไว้ขึ้นมาดูได้ ก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องเดิมเท่านั้น หากเราไปใช้งานเครื่องอื่น ๆ เช่นที่ร้านอินเตอร์เน็ต ที่มหาวิทยาลัย หรือที่โรงเรียน ก็จะไม่มีข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งก็มีบริการอีกแบบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเรา เรียกว่าเว็บ Social Bookmark โดยเมื่อเราสมัครสมาชิกกับเว็บ Social Bookmark แล้ว เราจะได้ Username และ Password สำหรับ
เข้าใช้งานระบบขอเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูล URL ที่เราสนใจไปเก็บไว้ในระบบของเว็บ Social Bookmark ได้ ซึ่งไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนบนโลก หากมีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าระบบของเว็บ Social Bookmark เพื่อเข้าไปดูข้อมูล URL ที่เก็บไว้ได้    
      
             นอกจากนี้แล้ว เว็บ Social Bookmark ยังมีระบบจัดการ ซึ่งนอกจากเราเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลแล้ว เรายังสามารถกำหนดสิทธ์การใช้งาน ข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้อีกด้วย อย่างเช่น เราอยากได้ความเป็นส่วนตัว ก็สามารถกำหนดได้ว่า ต้องล็อกอินเท่านั้นถึงจะเห็นข้อมูล หรือเราเห็นว่าเป็นเว็บที่มีประโยชน์ อยากแบ่งปันให้คนอื่น ๆ ได้รู้จักด้วย เราก็สามารถกำหนดให้บุคคลทั่วไป หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่ใช้เว็บ Social Bookmark ได้เห็นข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้ด้วย


              ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ทำให้การ Bookmark ผ่านเว็บกลายเป็นเสมือนสังคมสังคมหนึ่ง ที่มีการติดต่อ แบ่งปัน นอกจากนี้ก็อาจมีการแสดงความคิดเห็น การโหวตคะแนนให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ที่เราชอบ หรือได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เค้าได้เก็บไว้ ซึ่งเป็นที่มาของ
คำว่า Social Bookmark    
      
     



     สำหรับเว็บ Social Bookmark นั้นมีในสังคมอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยมานานหลายปีแล้ว แต่กลับได้รับความนิยมอยู่เพียงช่วงหนึ่ง แต่แล้วก็เหมือนเงียบหายไป เพราะความนิยมลดลงจนทำให้เว็บ Social Bookmark หลาย ๆ แห่งปิดตัวลง (เชื่อว่าเพื่อน ๆ บางท่านคงเคยได้มีโอกาสใช้เว็บไซต์ประเภทนี้)
              
จนกระทั้งเมื่อมีผู้ใช้นำเว็บ Social Bookmark มาใช้ในการทำ SEO เพื่อโปรโมทเว็บไซต์แบบ Off Page จึงทำให้เว็บ Social Bookmark เกิดใหม่อีกครั้ง และได้รับความนิยมอย่างสูงในการใช้โปรโมทเว็บไซต์ และหลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่า เว็บประเภท Social Bookmark กลายเป็นช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ ของ Webmaster หรือ Promoter จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่งแค่อย่างเดียว (จุดประสงค์การใช้งานเปลี่ยนไป บุคคลที่ใช้งานคือคนที่ต้องการเผยแพร่เว็บไซต์)    
      
               ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้สร้างเว็บ Social Bookmark ขึ้นมามากมาย ทั้งนี้เพราะคนสร้างเว็บเหล่านี้ ต้องการสร้างเว็บที่ใช้สำหรับสร้าง Back Link ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้ใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Bookmark ในปัจจุบัน ก็จะมีแค่ 2 ประภท คือ

1. Webmaster หรือเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการโปรโมทเว็บ เพื่อทำ Back Link จากเว็บไซต์ Social Bookmark
2. ผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป ที่ทำการ Search ข้อมูลจาก Search Engine ต่าง ๆ และคลิกข้อมูลเข้ามายังเว็บไซต์ Social Bookmark ซึ่งปรากฏข้อมูลของผู้ใช้ในข้อ 1

            สำหรับข้อดีของการโปรโมทผ่าน Social Bookmark นั้น เนื่องจากเว็บประเภท Social Bookmark นั้นตัวเว็บจะถูกปรับแต่งให้ถูกหลัก SEO อยู่แล้ว และประการที่สองคือ ตัวเว็บมีการอัพเดตข้อมูลถี่มาก ๆ (เพราะมีคนในกลุ่มที่ 1 ที่ตั้งใจเข้าเว็บมาเป็นประจำ และมีประเภทที่ 2 ก็เข้ามาในปริมาณที่มาก) และเมื่อมีปริมาณคนเข้าเว็บมาก ทั้งจากเข้าโดยตั้งใจแบบพิมพ์เข้ามาตรง ๆ และการเข้ามาผ่าน
Search Engine จากทั้งสองประการทำให้เว็บมี Bot เข้ามาเยี่ยชมเว็บ Social Bookmark บ่อย ๆ ตามไปด้วย และเมื่อมีจำนวนคนใช้งานที่มาก ก็เป็นผลทำให้การจัดอันดับข้อมูลในเว็บ Social Bookmark (เว็บที่คนประเภทที่ 1 โปรโมทไว้) ดีไปด้วย
        
     เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ คนที่ใช้เว็บ Social Bookmark โปรโมทเว็บต่างก็ กำหนดให้บุคคลทั่วไป เห็นข้อมูลทั้งหมด เพราะ Bot ก็จะเห็นข้อมูลด้วย ซึ่งเชื่อว่าแทบจะไม่มีใครกำหนดสิทธ์แบบส่วนตัวอีกแล้ว เพราะงั้น ถ้าไปโปรโมทในเว็บ Social Bookmark ก็จำไว้ว่าต้องเลือกแบบ public เท่านั้น ไม่งั้น ก็โพสต์ฟรี 
ไม่ได้ Back Link แล้วจะเมื่อยมือเปล่า ๆ

ขอบคุณข้อมูลโดย  Thaiadmin.org

7/26/2555

DoFollow & NoFollow


              คำนี้เคยได้ยินกันไหมครับ DoFollow กับ Nofollow ถ้าเป็น Webmaster สมัยนี้ หรือ ผู้ที่ทำ Blog น่าจะพอเข้าใจและได้ยินมาบ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับว่า มันคืออะไร?
DoFollow และ NoFollow เป็น Attribute ในการทำลิงค์  (AnchorTag) ซึ่งทั้ง 2 แบบนั้น ให้ผลที่แตกต่างกันค่อยข้างมาก ผมจะยกตัวอย่าง html ที่ใช้ attribute Nofollow ครับ เพราะโดย Default ของ Anchor Tag จะเป็น DoFollow อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเราจะใส่ NoFollow ก็ตามนี้เลยครับ


<a href=”http://www.mysite.com” rel=”nofollow“>

คำถามต่อมาคือ จะใส่ทำไม?

                เท่าที่ผมได้หาที่มาที่ไป ก็พบว่า เกิดมาจาก Blog ครับ อันเนื่องมาจาก Blog มีความเป็น Web 2.0 (ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นและใส่ลิงค์ได้) ทำให้มี Spammer, Spammy ชอบมา Comment แล้วใส่ลิงค์กลับไปหาเว็บตนเองแบบน่าเกลียด
                ผู้พัฒนา Blog จึงมองว่า Blog ได้รับผลเสียเพราะมีลิงค์ออกจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใส่เอง จึงได้เพิ่มส่วนของ Attribute “NoFollow” เข้ามาเพื่อ ไม่ให้คะแนน PR” ไปสู่ เว็บดังกล่าวได้
จึงคิดได้ง่าย ๆ ครับว่า การทำ NoFollow เพื่อป้องกันคะแนน PR ในหน้านั้น ๆ ลดลงโดยไม่จำเป็น (เพราะมี Spammer มาป่วน) แต่เดี๋ยวก่อนครับการทำ NoFollow ไม่ได้ทำมาเพื่อป้องกันคะแนน PR เราลดไปให้หน้าเว็บอื่นนะครับ แต่ในทาง SEO เว็บนั้น ๆ จะได้รับ Backlink จาก Blog เราแต่ไม่ให้คะแนน PR ไปด้วย
               เราสามารถทำมาทำกลับ Internal Page ของเว็บเราเองได้เช่นกัน ก็เพื่อป้องกันคะแนนหน้านั้น ไหลไปสู่หน้าอื่น ผมยกตัวอย่างครับ

                หน้าแรกเว็บเรามีลิงค์มากมาย เป็นลิงค์ไปยังหมวดหมู่ เนื้อหาทั่วไป แบบนี้ เราไม่จำเป็นต้องทำ NoFollow เพราะเราให้หน้าเนื้อหา หน้าหมวดหมู่ของเรามีคะแนน PR เพิ่มขึ้นในอนาคต
แต่หน้าที่เกี่ยวกับ Policy, Contact Us หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เรามองว่า เราไม่ต้องการให้มีคะแนน PR เราก็สามารถใส่ NoFollow กับลิงค์นั้นได้ครับ

แล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ?

               แน่นอนครับ ต้องได้สิ หน้า Policy, Contact Us มักจะมีทุกหน้าขอเว็บ (เท่าที่สังเกตุ ทุก Footer จะมี) ดังนั้น ในหน้าแรก ถ้าเรา DoFollow ลิงค์พวกนี้ จากปกติมีลิงค์ 50 ก็จะกลายเป็น 52 ทันที ทำให้คะแนนหน้าแรกของเราโดนแบ่งให้กับ Policy และ Contact Us โดยไม่มีความจำเป็น!!
อันนี้เป็นการนำไปใช้นะครับ เพื่อให้หน้าที่เราต้องการมีคะแนนที่สูงขึ้น แต่การใช้ NoFollow ไม่ควรใช้กับ Link Exchange ครับ เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติกับผู้ที่แลกลิงค์กับเรา ยกเว้นเราแจ้งเค้าก่อนแล้วว่า เราจะให้แบบนี้ ถ้าเค้าโอเค ก็ไม่มีปัญหาครับ

สรุป
DoFollow จะ่ให้ผลทาง Backlink และ คะแนน PR
NoFollow จะให้ผลทาง Backlink แต่ ไม่ให้คะแนน PR
ควรเลือกวิธีการให้ถูกต้องตามความเหมาะสมครับ

ขอบคุณข้อมูลโดย 4compass

7/24/2555

Search Engine คืออะไร



Search Engine  (เซิร์ต เอ็นจิ้น) คือ เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)  ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database ) ของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการกับ Search Engine 

Search Engine ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 


http://www.sanook.com/
http://www.google.co.th/
http://www.google.co.uk
http://www.yahoo.com/
http://www.msn.com/
http://www.baidu.com 
http://www.ask.com


                  การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหานั้น Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น


7/21/2555

Submit Blog Directories

การ Submit Blog Directory คืออะไร แปลง่ายๆก็คือการเอา บล็อก ของเราไปใส่ไว้ในเว็บที่เขารับทำการจัดหมวดหมู่บล็อกต่างๆ
นับว่าเป็นการเอา บล็อก ของเราเอาไปโปรโมทให้โลกรู้อีกทางหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีเว็บที่รับให้ ชาว Blogger ทั้งหลายนำ บล็อกของตัวเองไปใส่ไว้เพื่อประกาศให้โลกเห็นแต่ก็ไม่เสมอไปที่จะมีใครเห็นนะครับ อ้าว ???? งง ทำไมน่ะเหรอก็เพราะว่ามีบล็อกจำนวนมากมายหลายหมื่นหรือหลายแสนบล็อก ที่เอาบล็อกไป Submit ไว้ ซึ่งคนที่เขามาดูใน Blog Directory ก็อาจจะมองผ่านบล็อก ของเราไป 
              แต่อย่างไรก็ดีการ Submit Blog Directory ก็ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยโปรโมทบล็อกให้เราและในปัจจุบันก็มี เว็บ Blog Directory มากมายให้เลือก ทั้งฟรีและไม่ฟรี 
              และผมก็มี เว็บ สำหรับ Submit Blog Directory มาฝากไม่มากไม่มาย ไปเก็บตกเขามาครับเป็นเว็บ Submit Blog Directory ที่มีค่า PR หรือ Page Rank สูงตั้งแต่ Pr7-Pr9 


แต่ก่อนที่ชาวบล็อกจะเริ่ม ทำ Submit Blog Directory ผมขอฝากข้อคิดไว้ซักเล็กน้อยดังนี้นะครับ


           1.สังคมในชุมชนการทำบล็อกมันคือการแลกเปลี่ยนดังนั้นถ้าหากคุณต้องการให้คนอื่นมาเยี่ยมชมบล็อกของคุณ คุณก็ต้องยอมที่จะไปเยี่ยมบล็อกของเขาก่อน
           
                2.จากข้อ 1 อย่าคาดหวังมิตรภาพ (ความจริงใจ) มากนัก ในเมื่อมันคือการแลกเปลี่ยน ดังนั้นเป็นไปได้ยากว่าถ้าเขามาเยี่ยมชมบล็อกของคุณแล้ว จะกลับมาอีกครั้ง ยกเว้นบล็อกของคุณมีสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ (ซึ่งคุณคงมีสิ่งที่ทุกคนต้องการไม่ได้) และบางครั้งคุณอาจจะเห็นรูปสาว ๆ สวย ๆ เต็มไปหมด แต่อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อว่าเจ้าของรูปภาพเหล่านั้นเป็นเช่นเดียวกับที่เห็น
           
                3. ต้องถามตัวเองก่อนว่า ปรัชญาในการทำบล็อกของคุณเป็นอย่างไร ถ้าต้องการสร้างรายได้ ผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งที่คุณจะยอมสละเวลาไปโปรโมทบล็อกของคุณ แต่ถ้าคุณทำบล็อกเพื่ออย่างอื่น ผมก็คิดว่าคุณควรเอาเวลามาสร้างสรรค์เนื่อหาในบล็อกของคุณให้มีคุณภาพจะดีกว่า เพราะประโยคเด็ดที่กล่าวว่า “Content is the King” ก็ยังจริงเสมอ

ด้านล่างนี่คือรายชื่อ Blog Directory ที่ได้มาครับเอาไป Submit กันได้เลยครับ



9 http://search.freefind.com .
9 http://www.boingboing.net .
9 http://www.dmoz.org .
8 http://directory.google.com .
8 http://search.com .
8 http://search.epnet.com .
8 http://search.internet.com .
8 http://www.big-boards.com .
8 http://www.bloglines.com .
8 http://www.bubl.ac.uk .
8 http://www.fastsearch.com .
8 http://www.foxsearchlight.com .
8 http://www.lii.org .
8 http://www.lii.org/pub/htdocs/home.htm .
8 http://www.mriresearch.org .
8 http://www.musicmoz.org .
8 http://www.nlsearch.com .
8 http://www.picosearch.com .
8 http://www.researchbuzz.com .
8 http://www.rssreader.nl .
8 http://www.scirus.com .
8 http://www.scriptsearch.com .
8 http://www.searchinsider.com .
8 http://www.topix.net .
8 http://www.asplay.com
8 http://www.uncoverthenet.com .
8 http://www.yahooligans.yahoo.com .
7 http://dir.search.ch .
7 http://search.earthcam.com .
7 http://search.mnogo.ru .
7 http://search.namazu.org .
7 http://uk.mobile.yahoo.com .
7 http://www.1234-find-web-designers.org .
7 http://www.1stindustrialdirectory.com .
7 http://www.2rss.com .
7 http://www.agingresearch.org .
7 http://www.allheadlinenews.com .
7 http://www.amrresearch.com .
7 http://www.ananzi.co.za .
7 http://www.art.net .
7 http://www.arthritis-research.com .
7 http://www.astronomylinks.com .
7 http://www.asylumresearch.com .
7 http://www.aussie.com.au .
7 http://www.awesomelibrary.org .
7 http://www.bioresearch.ac.uk .
7 http://www.blogcatalog.com .
7 http://www.blogcritics.org .
7 http://www.blogpulse.com .
7 http://www.bloguniverse.com .
7 http://www.botw.org .
7 http://www.cancerresearch.org .
7 http://www.cancerresearchuk.org .
7 http://www.cansearch.org .
7 http://www.capsresearch.org .
7 http://www.chemdex.org .
7 http://www.consumersearch.com .
7 http://www.crosssearch.com .
7 http://www.dmoz.com .
7 http://www.downes.ca .
7 http://www.dtsearch2.com .
7 http://www.educationindex.com .
7 http://www.elib.org .
7 http://www.emteachline.com/links .
7 http://www.envirolink.org .
7 http://www.exactseek.com .
7 http://www.familysearch.org .
7 http://www.fbresearch.org .
7 http://www.femina.com .
7 http://www.firstsearch.oclc.org .
7 http://www.fotosearch.com .
7 http://www.freehotelsearch.com .
7 http://www.freepatentsonline.com .
7 http://www.globalresearch.ca .
7 http://www.guardian.co.uk/weblog .
7 http://www.headlinespot.com .
7 http://www.hostsearch.com .
7 http://www.hsrd.research.va.gov .
7 http://www.info.gov/phone.htm .
7 http://www.jobsearch.gov.au .
7 http://www.joslinresearch.org .
7 http://www.kids4research.org .
7 http://www.libdex.com/weblogs.html .
7 http://www.lsblogs.com .
7 http://www.marketingtool.com .
7 http://www.mnogosearch.org .
7 http://www.msdssearch.com .
7 http://www.music-research.org .
7 http://www.mwsearch.com .
7 http://www.newsmob.com .
7 http://www.panopticsearch.com .
7 http://www.picsearch.com .
7 http://www.pingomatic.com .
7 http://www.pubsub.com .
7 http://www.researchamerica.org .
7 http://www.science.cancerresearchuk.org .
7 http://www.searchbiblio.com .
7 http://www.searchedu.com .
7 http://www.searchengines.com .
7 http://www.searchgov.com .
7 http://www.searchmil.com .
7 http://www.searchopolis.com .
7 http://www.searchsystems.net .
7 http://www.searchtools.com .
7 http://www.securitysearch.net .
7 http://www.sldirectory.com .
7 http://www.sportsvl.com .
7 http://www.theweblogreview.com .
7 http://www.umresearch.umd.edu .
7 http://www.weblogalot.com .
7 http://www.wine-searcher.com .
7 http://www.worksearch.gc.ca .
7 http://www.worldhot.com .
7 http://www.worldweb.com .
7 http://www1.lanic.utexas.edu .



ขอบคุณข้อคิดโดย  www.hackublog.com
รายชื่อเว็บ Blog  Directories โดย  iblog555.blogspot.com

แหล่งบทความฟรี สำหรับเพิ่มข้อมูลให้ Blog ของเราครับ

ไปอาศัยเก็บของเขามาครับเลยเอามาบอกต่อๆกัน เผื่อใครไม่ได้เป็นสมาชิก ไทยเสียวบอร์ด

http://www.buzzle.com/ 
http://www.digital-women.com/ 
http://www.impactarticles.com/ 
http://www.webpronews.com/ 
http://www.web-source.net/ 
http://articles.simplysearch4it.com/ 
http://www.articlesfactory.com/ 
http://searchwarp.com/ 
http://www.allthewebsites.org/articles/ 
http://www.advertisingknowhow.com/ 
http://www.thewhir.com/find/articlecentral/ 
http://www.rlrouse.com/ 
 http://www.goarticles.com/ 
http://www.ezinearticles.com/ 
http://www.ideamarketers.com/ 
http://biz-whiz.com/ 
http://www.articlecity.com/ 
http://www.contentdesk.com/ 
http://www.freetraffictip.com/ 
http://www.marketing-seek.com/ 
http://www.family-content.com/ 
http://www.netterweb.com/ 
http://www.isnare.com/ 
http://www.valuablecontent.com/ 
http://www.internetbasedmoms.com/ 
http://www.powerhomebiz.com/ 
http://www.sbinformation.about.com/ 
http://www.workoninternet.com/ 
http://www.constant-content.com/ 
http://webmastertraffictools.com/articledirectory/ 
http://www.allfreelancework.com/ 
http://www.article-emporium.com/ 
http://www.businessknowhow.com/ 


ขอบคุณผลงานคุณ  Arrebaba จาก Thaiseoboard ครับ

7/20/2555

Submit blog กับ Social Bookmark


การโปรโมทบล็อก blog ของคุณผ่าน Social Bookmark (หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า Pligg) ซึ่งปัจจุบันเป็นช่องทางการโปรโมทบล็อกที่ได้ผลดีมาก และจะทำให้บล็อกของคุณติดอันดับการค้นหาลำดับต้น ๆ ได้ไม่ยากเลยทีเดียว

            เนื่องจาก SocialBookmark เป็นบริการที่มีการ update อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น bot ของ search engine ก็จะมาเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ แทบจะตลอดเวลาก็ว่าได้  ดังนั้นหากเรา submit บล็อกของเรา หรือเรื่องราวบนบล็อกของเราไปสู่ SocialBookmark    ข้อมูลที่เรา submit ไปก็จะถูก bot ของ Search engine ค้นพบอย่างรวดเร็วไปด้วย นอกจากนี้ SocialBookmark ส่ง backlink กลับมายังบล็อกของเราแบบ dofollow (หรือบางแห่งอาจจะเป็น Nofollow) ทำให้ bot ของ search engine ไต่มาหาบล็อกของเราและเก็บ index ไปอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลให้ traffic(จำนวนคนเข้าบล็อก) และ page rank(คะแนนคุณภาพของเว็บไซต์) บล็อกของเราเพิ่มขึ้นตามมาด้วยนั่นเองครับ

            เมื่อพอทราบแนวคิดและเห็นประโยชน์ในการ Submitblog กับ Social Bookmark ต่อไปก็จะแนะนำแหล่งให้บริการและ เทคนิคเพิ่มเติมในการ Submit 


ด้านล่างนี้เป็นแหล่งแบบ  Dofollow Social Bookmarking  ครับ


การโปรโมทบล็อก (SEO)

                             ทำไมต้องโปรโมท(SEO) หลายๆคนอาจถามคำถามนี้ เพราะว่าเราทำเว็บ หรือ บล็อก เราก็ต้องการให้คนอื่นทั่วโลกได้รู้ว่าเรานั้นมีแหล่งข้อมูลของตัวเองนะ และพร้อมจะแจกจ่ายให้กับใครก็ได้ที่เข้ามาหาเราแต่การที่ใครซักคนจะรู้จักเรามันต้องมีผู้ช่วยครับ ผู้ช่วยก็คือ Search Engine เอ๊ะ! แล้ว Search Engine คือใคร หลายคนอาจจะงงๆ แต่ถ้าบอกว่า Google ไง ทุกคนก็จะร้อง อ๋ออออออออออออออ ยาวเลย 
                             พี่ Google ของเรานี่แหละคือผู้ช่วยที่จะทำให้เราติดต่อกับผู้คนที่เข้ามาใช้ Internet เพราะการที่เราจะหาข้อมูลอะไรซักเรื่องเราก็ต้องใช้ พี่ Google ในการช่วย เพราะฉะนั้น Google รู้จักเรา คนอื่นๆก็มีโอกาสรู้จักเรา แต่ก็มีวิธีอื่นๆ อีกหลายวิธีที่สามารถให้คนรู้จักเรา ลองอ่านและลองทำตามวิธีต่างๆตามด้านล่างนี้ดูแล้วมาดูผลกันว่าทำให้ บล็อก ของคุณเป็นที่รู้จักของใครหลายๆคนหรือเปล่า

1. Link ไปหาบล็อกอื่น
                  วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือทำ link ไปหาบล็อกอื่น ๆ ที่คุณสนใจก่อนเลย นักเขียนบล็อกหลาย ๆ ท่านมักะใจจดใจจ่อ อยู่ตลอดอยู่แล้วว่า จะมีใครทำ link มาหาบ้าง เมื่อคุณลิงค์ไปหาเค้าก่อน คุณก็อาจจะได้เป็นจุดสนใจ ทำให้เจ้าของบล็อกนั้น ๆ รู้จักบล็อกของคุณ คราวนี้แหละครับ ถ้าบล็อกเราดีจริง เค้าก็คงไม่รังเกียจที่จะทำ link มาหาเราแน่นอนครับ หรือถ้าให้ชัวร์ หลังจากที่คุณทำลิงค์ไปหาบล็อกอื่นแล้ว ลองเมล์ไปบอกเจ้าของบล็อกเค้าด้วยก็ดีครับ ว่าเราทำลิงค์ไปหาแล้วนะครับ

2. ไป Comment ที่บล็อกคนอื่นบ้าง                    
                   เวลาเราไปอ่านบล็อกคนอื่น ก็ไปเขียนคอมเม้นต์ไว้บ้างนะครับ มีคำแนะนำนิดนึงว่า อย่าไป spam comment เค้านะครับ เพราะขนาดเราเองยังรำคาญเวลามีคนมา spam comment ของเรา ใจเขาใจเราครับ ( เพิ่มเติมครับ ตอนนี้ในส่วน comment ของระบบ blog อย่าง wordpress มักจะมีแท็ก no follow ครอบอยู่ ทำให้ไม่สามารถช่วยในเรื่อง link popularity ได้แล้วนะครับ คงได้ประโยชน์คือให้เจ้าของบล็อก รู้จักบล็อกเราเท่านั้น)


3. Submit บล็อกเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ
                    ข้อนี้ต้องขยันนิดนึง เพราะคุณต้อง submit บล็อกของเราเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของบล็อกก็คือ คุณสามารถโปรโมทบล็อกไปสู่ search engine ของเว็บได้ และยังโปรโมทไปสู่ search engine เฉพาะทางเช่นพวก Blog Search Engine ได้อีกด้วย

4. ออกแบบบล็อกให้ดูดีสวยงาม
                   ถ้าคุณออกแบบบล็อกให้สวย ๆ หรือมีดีไซน์ที่โดดเด่นสะดุดตา คุณก็มีโอกาสที่จะโปรโมทเว็บของคุณที่ Rookienet หรือเว็บที่พูดคุยถึงเรื่องการดีไซน์เว็บ เป็นต้น

5. ใช้ CSS ในการออกแบบบล็อก
                   หากดีไซน์สวยแล้ว ยิ่งใช้ css ในการ coding เข้าไปอีก โอกาสยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะคุณจะมีโอกาสได้โปรโมทไปสู่ระดับโลก เช่นเว็บ CSSvault ซึ่งถ้าคุณออกแบบสวยและใช้ CSS คุณก็สามารถส่งบล็อกของคุณ เข้าไปให้เค้าพิจารณาได้

6. ทำ Tag ไปหา technorati
                    Blog Search Engine ชื่อดังอย่าง Technorati นั้นมี pagerank ที่สูงทีเดียว ยิ่งถ้าแต่ละบทความของคุณ มีการใส่ tag ไปแจ้ง technorati ไว้ เราจะได้ผลสองทางคือ ทางตรง ได้ไปอยู่ใน technorati directory และ ทางอ้อม คือ bot ของ search engine ต่าง ๆ จะวิ่งต่อจาก technorati มาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราด้วย

7. ทำ signature ตอนตอบกระทู้ใน Web Board
                  เวลาไปตอบกระทู้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็อย่าลืมตั้งค่า signature ให้ลิงค์มาที่บล็อกของคุณด้วย คำแนะนำคือ ตอบกระทู้ในสิ่งที่คุณตอบได้ อย่า spam เว็บบอร์ด ให้ตอบในเรื่องที่เรารู้จริง จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้บล็อกของ... ลองแวะไปที่เว็บบอร์ดสำหรับชาวบล็อกอย่าง Blogger Talk ก่อนได้

8. ใช้ Social Bookmark
                 ในยุค web 2.0 อย่างตอนนี้ ลองใช้ประโยชน์จากเว็บพวก social bookmark ให้เกิดประโยชน์ ถ้าบทความในบล็อกของเรา ได้ไป link อยู่ในเว็บเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่ม traffic และเพิ่ม link popularity ไปในตัว ลองดูเว็บอย่าง del.icio.us หรือ digg แต่ถ้าหากเป็นของไทย ลองแวะไปที่ Zickr

9. Ping ไปที่ Blog Search Engine
                ถ้าระบบบล็อกของคุณเป็นโปรแกรมอย่างพวก WordPress หรือ MovableType คุณก็จะสามารถตั้งค่าของโปรแกรมให้ทำการ ping บทความหรือบล็อกของคุณ เข้าสู่ Blog Search Engine ในทุก ๆ ครั้งที่คุณอัพเดทบล็อกโดยอัตโนมัติ

10. เขียนบทความให้เว็บอื่นหรือบล็อกอื่นๆ
                 หลายแห่งเปิดให้เราได้แสดงความสามารถ หรือเขียนบทความที่มีประโยชน์ ต่อกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ หรือบล็อกของเค้า และส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราเขียนเรื่องส่งไป เราจะได้ credit เล็ก ๆ ก็คือ link กลับมาหาบล็อกของเรา



การเขียนบทความ (Write Post)

เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้ Blogger แล้ว คุณจะพบแผงควบคุมของคุณ พร้อมด้วยรายการบล็อก



                คลิกที่ไอคอนรูปดินสอ หรือที่ New post เพื่อเริ่มเขียนโพสต์ใหม่ และป้อนอะไรก็ได้ที่ต้องการแบ่งปันกับคนทั้งโลก


                 ถัดไป คุณจะเห็นหน้าเว็บของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เริ่มต้นด้วยการให้ชื่อบทความ (Post Title) บอกว่าเราเขียนเรื่องอะไร จากนั้นป้อนเนื้อหาของบทความในช่องสี่เหลี่ยมใหญ่ ตรงกลาง

                  เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม  Preview  เพื่อตัวอย่าง ที่ด้านบนเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะดำเนินการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Publish เพื่อเผยแพร่ บทความที่คุณเขียนให้กับคนอื่นๆได้อ่านกันครับ

              แค่นี้คุณก็ได้บทความแรกสำหรับ บล็อก ของคุณแล้ว จากนั้นก็หาเรื่องราวดีๆ ความรู้ต่างๆ หรือสิ่งที่คุณสนใจเอามาเขียนเพิ่มใน บล็อก ของคุณต่อไป แล้วต่อไปเราจะมาพูดถึงว่าทำยังล่ะถึงจะมีคนเห็นสิ่งดีๆที่เราเขียน โปรอติดตามครับ

เริ่มต้นชีวิตบล็อก กับ Blogger.com ฟรี



มีบล็อกส่วนตัวง่าย ๆ เอาไว้เขียนเรื่องราวให้คนอ่านเพียงแค่มีอีเมล์ Gmail.com

  1. มีอีเมล์ของ Gmail.com 

  2.  www.blogger.com  จากนั้นก็ใส่อีเมล์กับรหัสผ่านของ Gmail

  3. เริ่มสร้างเว็บบล๊อกได้เลย

  4. ตั้งชื่อเว็บบล็อกและเลือก Theme ที่ต้องการ

    เพียงเท่านี้เราก็จะมีบล็อกส่วนตัวไว้เขียนเรื่องราวต่างๆ หรือ จะเอาไว้ทำเงิน ก็ได้ แต่ยังไงนั้นเราค่อยมาว่ากันต่อครับ